top of page

วางแผนการเงินเถอะ เงินเฟ้อน่ากลัวกว่าที่คิด!

  • James Sitsankul
  • Jun 15, 2019
  • 2 min read

สิ่งนึงที่คนจะรวย(และสวยมาก)อย่างเราต้องรู้เป็นอย่างแรก คือ พลังของ ‘ดอกเบี้ย’ ค่ะ ก็เหมือนที่พวกเธอชอบบ่นตอนเรียนเลขนั้นแหละ “กราฟอะไรไม่รู้ย้ากยาก จะเรียนไปทำไมกัน ถึงเวลาก็ใช้เครื่องคิดเลขม่ะ?” แต่เจ้บอกเลยว่า เรื่องพวกนี้สำคัญมากกก คือเธอไม่ต้องเก่งเลขก็ได้ แต่ว่าต้อง Get Concept มันค่ะ

ดอกเบี้ย มันมีทั้งพลังบวกและพลังลบนะจ๊ะ เพื่อให้พวกเธอสยอง เราจะพูดถึงพลังลบของมันก่อน ไม่ต้องเอาถึงขั้นเป็นหนี้หรอก แค่อยู่เฉยๆมันก็มาดึงพวกเธอสู่ขุมนรกแล้ว อะไรนะหรอ ก็เงินเฟ้อไง! เจ้ยอมรับเลยว่าแรกๆเจ้เชิดใส่มากค่ะ โอ้ยแค่ไม่กี่เปอร์เซนต์ No สน No Care ค่ะ แต่พวกเธอลองมานั่งคำนวนสิ

ยกตัวอย่างเงินน้อย มันไม่สะดุ้ง เอาเป็นค่าทำบอลลูนโรคหัวใจ ตีไปสะว่าทุกวันนี้ราคา 1,000,000 บาท ผ่านไป 1 ปี (ตีว่าเงินเฟ้อปีละ 4%) ตามทฤษฏีราคาก็จะขึ้นมาที่ 1,040,000 บาท ขึ้นมาแค่ 40,000 เอง พอไหวๆ

แต่ถ้า 10 ปี ราคาก็จะกลายเป็น 1,480,244 บาท!!! (อันนี้คิดตามทฤษฏีน่ะ)

30 ปี ก็พุ่งไปที่ 3,243,398 บาทค้า ไม่ชิวแล้วชิมิล่ะ

อำนาจของดอกเบี้ยทบต้นทบดอกคือ มันไม่ได้วิ่งขึ้นหรือลงแบบเส้นตรงธรรมดาๆนะจ๊ะ แต่มันจะเร่งให้มูลค่าสูงขึ้นแบบน่ากลัวมาก

แล้วมันสำคัญยังไง ก็ใครที่คิดว่า โอ้ย!แผนการเงินหรอ ง่ายจะตาย ก็แค่ประหยัดๆ แล้วก็เก็บเงินสดไว้ใน Bank แค่นั้นเอง!

แต่เจ้ค่ะ! หนูขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด กตัญญู มากเลยนะคะ หนูเก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท มาตั้งแต่อายุ 30 เลยค่ะ หนูฝากในบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูงตั้ง 1.5% เลยนะคะ!

โถ ลูกขา หนูลองคำนวนดูหรือยังค่ะ ว่าผ่านไป 30 ปีหนูจะมีเงินเท่าไร ไม่เป็นไร เจ้คำนวณให้แล้วค่ะ หนูจะมีเงิน 4.5 ล้านบาท นั้นแปลว่าหนูทำบอลลูนครั้งเดียว ก็ หายไป 70% ของเงินในบัญชีละลูก เหลือเงินอีก 1 ล้านกว่าให้หนูใช้จ่ายหลังเกษียณจะพอไหม แล้วนี้ยังไม่รวมถ้ามีโรคอื่นๆอีกนะ เจ้จะให้เวลากรี๊ด 10 นาทีค่ะ

โอ้ย กลัวอะไร ฉันก็ใช้สวัสดิการรัฐสิค่ะ บัตรทงบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค เจ้ไม่เคยได้ยินหรอ!

พวกเธอคงไม่รู้สิน่าว่า สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) มันน่ากลัวยังไง

‘สังคมผู้สูงอายุ’ ก็คือสังคมที่มีประชากรแก่กว่า 60 มากกว่า 25% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งประเทศไทยของเราก็กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีก 5-6 ปีข้างหน้านี้แล้ว เพราะคนสมัยนี้ไม่ค่อยมีลูก ก็ค่าใช้จ่ายสูงสะขนาดนี้ แถมวิทยาการทางการแพทย์ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น มีแนวโน้มจะอายุยืนกว่าเดิมไปอีก สมมติถ้าพวกเธอดันอายุ 100 ปีงี้ แปลว่าหลังเกษียณไปแล้ว ต้องมีเงินพอใช้ไปอีก 40 ปีเลยนะ ต้องใช้เงินมากขนาดไหนเนี้ย! ที่แย่กว่านั้นคือ คนแก่ไม่ทำงาน รัฐบาลนอกจากจะเก็บภาษีได้น้อยลงแล้ว ยังต้องเอาเงินมา Support อีก ไม่ต้องห่วงเลย คนทำงานก็จะมีน้อยลงเรื่อยๆ จากที่ปี 2548 เงินภาษีที่เก็บจากคนทำงานประมาณ 6-7 คน จะพอ Support คนแก่ 1 คน ล่าสุด ปี 2558 ตัวเลขลดลงไปเหลือแค่ 5 คนแล้ว แล้วเค้าคาดการณ์กันว่าปี 2568 – 2578 จะเหลือเพียง 2-1 คนเท่านั้น ที่จะต้อง Support คนแก่ 1 คน นั้นเท่ากับ คนทำงาน 2-1 คนนั้นจะต้องจ่ายภาษีอลังการมาก ไม่แค่นั้นนะ พอคนทำงานมีน้อยลง ปริมาณ หมอ พยาบาล ก็น้อยลงตาม แต่คนแก่มีเยอะขึ้น แล้วจะเพียงต่อความต้องการหรอ? พอป่วยทีก็ต่อคิวยาวอลังการงี้ ถ้าไม่อยากต่อคิวรอต้องทำไงละ มีเงินไงเธอ!

เอาล่ะสิเริ่มกลัวชีวิตวัยเกษียณกันยัง?

ทั้งเงินเฟ้อ และ Aged Society เข้ามารุมเร้า ประดุจเราเป็นสาวสวยแรกแย้มขนาดนี้ วันนี้พี่เจมส์ (นักเขียน Profile Hiso จบจาก INSEAD – The Best International Business School 2017 ranking by Bloomberg Business Week) ปัจจุบันทำงานเป็นผู้บริหารด้านการตลาดของบริษัท Global Brand ที่ดังมากทั่วโลก มีคำแนะนำง่ายๆสู่ความสำเร็จทางการเงินมาเล่าให้ฟังกันจ้า โดยแบ่งเป็น 4 ระดับนะ [อ้างอิง ดร สมจินต์ ศรไพศาล] ส่วนภาษาตุ๊ดๆก็โดยเจ้เอง 555

1. Basic needs (ค่ากินอยู่ปัจจัยพื้นฐาน)

เราควรเริ่มทำบัญชี รายรับรายจ่ายกันนะครับ จดไว้ว่าที่มันเข้ามาน่ะ มันออกไปเท่าไร และเหลือเก็บเท่าไร (ถามว่าสำคัญยังไง ทำไมต้องทำ เจ้บอกว่าเลยว่าสำคัญมาก เพราะเรามักหลอกตัวเองว่าเราใช้เงินไม่เยอะ แต่ลองคิดถึงเวลาไปซื้อใน Super ดูสิ เห้ย หยิบนิดเดียวเองนะ คิดเงินออกมาทำไมหลายพันจัง ชีวิตจริงก็เหมือนกันนั้นแหละ เห้ย ฉันใช้เงินไปนิดเดียวเองนะ เงินหายไปไหนหมด ก็หลอกตัวเองไงเธอ! 555 ฉันก็เป็น ก็เลยต้องฝึกจดทำบัญชีไงค่ะ ซึ่งสมัยนี้ก็ง้ายง่าย Download App ในมือถือมา จดง่าย สบายมาก) และขอแนะนำว่ามนุษย์เงินเดือนอย่างเราควรมีเงินสดสำรองสำหรับสภาพคล่องประมาณ 3-6 เดือน จะเก็บเป็นทองก็ได้ แต่มันจะผันผวนบ้างขึ้นๆและลงๆงงๆกันไป) สาเหตุที่ต้องมีเงินสดสำรอง เพราะเผื่อเธอสวยจัดไปขัดหูขัดตาเลขาใหม่ CEO โดนเด้งกระทันหัน (อ้าวเธอ ไม่ขำนะจ๊ะ สมัยนี้โดน Lay Off กันไม่รู้ตัว บริษัทก็ Re Org รัวๆ ไม่ใช่ลูกรักใครก็จะโดนเด้งก็งานนี้แหละ) ก็จะได้มีเงินไว้ใช้ระหว่างช่วงหางานใหม่ไงค่ะ แต่อย่างเพื่อนเจ้เคยตกงานนาน 10 เดือน ก็จะมีสำรองไว้สัก 10 เดือนเลยก็ได้ค่ะ แต่ไม่ควรเก็บไว้เยอะมาก เพราะมันจะโดนเงินเฟ้อไปอีก

2. Risk management (บริหารความเสี่ยง)

ถ้าก้าวพ้นข้อ 1 มาได้เงินที่เหลือก็ควรจะเริ่มเอามาใช้สำหรับอนาคต ใช้ยังไงค่ะ? Shop สินค้าคนแก่ แฟชั่นสูงวัยเหรอ? เปล่าค้า “สุขภาพ” สิจ๊ะ เพราะร่างกายคุณมันต้องเสื่อมอยู่แล้ว เราเลยต้องเอาเงินปัจจุบันจ่ายค่าสุขภาพไปก่อน ก็ซื้อประกันนั้นแหละ จ่ายเบี้ยในวันนี้หลักหมื่นต่อปี อาจเซฟคุณได้เป็นหลักล้านในไม่กี่ปีนะจ๊ะ ....จริงๆแล้วเงินก้อนนี้ก็คือการหลีกเลี่ยงปัญหาสังคมผู้สูงอายุที่กล่าวนั่นแหละ คนแก่เยอะ โรงพยาบาลทะลักใช่มะ ฉันสวยและรวยมาก เปย์หนักมากด้วย ทำประกันรพ.เอกชนแบบห้องส่วนตัววิวแม่น้ำ สวยๆป่วยอย่างมี Style งี้ ผ่าตัดอะไรทีก็ไม่ต้องปวดหัว ไม่ต้องกลัวรอคิวนานจ๊ะ

3. Accumulation (เก็บสะสมเพิ่มยอด)

ก็อย่างที่บอกว่าดอกเบี้ยมันก็มีด้านบวกคะเธอ มันลดค่าเงินเธอได้ มันก็เพิ่มค่าเงินเธอได้ ถ้าเก็บเงินให้ถูกที่ เงินจะเฟ้อหรอ ฉันสวยกว่าค้า เก็บเงินถูกที่ก็ชนะเงินเฟ้อไปสิ หลักการง่ายๆคือ อย่าเอาเงินไปแช่ตุ่ม แช่ไห หรือฝากเงินในออมทรัพย์ดอกเบี้ยจิ๋มมดเลย เอามาลงทุนให้ผลตอบแทนมันเกินเงินเฟ้อเถอะ (beat the inflation rate) จะลงทุนอะไร อย่างไร ที่ไหน กับใคร อันนี้ต้องเม้านยาวววววว เดี๋ยววันหลังมาเล่าให้ฟังจ๊ะ

4. Transfer (การส่งต่อ)

พอสวยและรวยมากแล้ว เงินหรือธุรกิจที่มีอยู่นั้น มันไม่สามารถเป็นของเธอไปตลอดได้หรอก ทำไมน่ะเหรอ? เพราะเดี๋ยวเธอก็ตายไงล่ะ (ขอโทษกับตลกร้ายอันนี้ แต่มันเป็นความจริงที่เลี่ยงไม่ได้) ดังนั้นเธอต้องวางแผนมรดกนะ หรือ ส่งต่อธุรกิจให้คนอื่นต่อไป ไม่ว่าจะลูกหลาน คนรัก ญาติสนิท ชู้ กิ๊ก หรือ กระทั่ง การกุศลก็ตาม หรือจะส่งต่อให้เจ้ก็ได้ แต่หนี้ไม่รับนะคะ 555

เอาล่ะ มาถึงขนาดนี้ละ เริ่มที่จะคิดวางแผนทางการเงินกันยัง เดี๋ยวครั้งหน้าจะมาช่วยบอกหลักการเบื้องต้นง่ายๆ ที่ให้ผลดีให้นะครับ ตอนนี้ขอไปขึ้นเครื่องก่อน อย่าลืมนะ ปัญหาเงินเฟ้อ กับ สังคมผู้สูงอายุ จะดับฝันวัยเกษียณของเธอถ้าไม่เริ่มเซฟกันแต่เนิ่นๆนะจ๊ะ

ติดตามหรือเข้าไปเม้าส์กับพี่เจมส์ได้ที่ IG ของนาง https://www.instagram.com/bkkjim/


 
 
 

Comments


bottom of page